
วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
Extranet

Intranet
ในยุคที่อินเตอร์เน็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง บริษัทธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต ในการโฆษณา การขายหรือเลือกซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในขณะที่องค์กรบางแห่งที่ไม่มุ่งเน้นการบริการข้อมูลอินเตอร์เน็ตระหว่างเครือข่าย ภายนอก แต่จัดสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรและเปิดให้บริการในรูปแบบเดียวกับที่มีอยู่ในโลก ของอินเตอร์เน็ตจริง ๆ โดยมีเป้าหมายให้บริการแก่บุคลากร ในองค์กร จึงก่อให้เกิดระบบอินเตอร์เน็ตภายในองค์กร เรียกว่า "เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet)" เครือข่ายอินทราเน็ตนั้น เริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในปี พ.ศ.2539 แต่แท้ที่จริงแล้วได้มีผู้ริเริ่มพูดถึงชื่อนี้ตั้งแต่ สี่ปีก่อนหน้าแล้ว หลังจากนั้นระบบอินทราเน็ตจึงได้ได้รับความนิยมมากขึ้น ในยุคแรก ๆ ระบบนี้มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น แคมปัสเน็ตเวิร์ก (Campus Network) โลคัลอินเตอร์เน็ต (Local Internet) เอนเตอร์ไพรท์เน็ตเวิร์ก (Enterprise Network) เป็นต้น แต่ที่รู้จักกันมากที่สุดคือชื่อ อินทราเน็ต ชื่อนี้จึงกลายเป็นชื่อยอดนิยมและใช้มาจนถึงปัจจุบัน
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินทราเน็ต ก็คือ การใช้งานของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตโดยจำกัดขอบเขตการใช้งาน ส่วนใหญ่อยู่เฉพาะภายในเครือข่ายของหน่วยงานเท่านั้น และนอกจากนี้ระบบ อินทราเน็ตยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานอินทราเน็ตสามารถใช้ทั้งอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กันได้ โดยทั่วไปอินทราเน็ตจะไม่เน้นการเชื่อมต่อไปสู่อินเตอร์เน็ตภายนอก เพื่อสืบค้นหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายนอก หากแต่มุ่งหวังที่จะจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศภายในองค์กร ด้วยการจัดเตรียมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดียวกับที่ใช้งานในอินเตอร์เน็ต และขยายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปถึงบุคลากรทุกหน่วยงาน ให้สามารถ เรียกค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้ รูปแบบสำคัญที่มีในอินทราเน็ต คือ การใช้ระบบเวบเป็นศูนย์บริการข้อมูลและข่าวสารภายใน สามารถให้ข้อมูลได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อน ไหวและเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้งาน โดยได้ผนวกบริการข้อมูลอื่นรวมไว้ในตัวเช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูล หรือกระดานข่าว เป็นต้น
อินทราเน็ตจะช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเอกสารจากเดิมใช้วิธีทำสำเนาแจกจ่าย ไม่ว่าจะเป็นข่าว ประกาศ รายงาน สมุดโทรศัพท์ภายใน ข้อมูลบุคลากร มาจัดทำให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ แทน ผู้ใช้สามารถเรียกค้น ข้อมูลข่าวสารได้เมื่อต้องการ การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตในหน่วยงานถือเป็นการปฏิรูปในองค์กรและก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ช่วยให้การดำเนินงานเป็น ไปได้อย่างคล่องตัว และลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมาก หากมีการวางแผนงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรให้สูงขึ้น เครือข่ายอินทราเน็ตที่ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยติดต่อกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น เรียกว่าเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตสามารถมองเป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายอินทราเน็ตที่สามารถติดต่อ ออกไปหน่วยงานต่าง ๆ นอกองค์กรได้ การที่ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อกันแทนที่จะติดต่อกันโดยตรงระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตนั้นทำให้ประหยัด ค่าใช้จ่าย และสามารถใช้ข้อดีของบริการบนอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตได้มีประโยชน์สูงสุด
Internet
IP (Internet protocal) Address
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง
ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน
IP address คือเลข 4 ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข 1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254 1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534 1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214
Client-Server
Peer-to-peer

Hybrid Peer-to-Peerโมเดลแบบ Hybrid P2P นี้จะมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่ทำหน้าที่ควบคุมรายละเอียดของข้อมูลที่อยู่ภายในเครือข่ายแต่การส่งข้อมูลจะเป็นแบบเดียวกับโมเดล Pure P2P (ส่งถึงกันโดยตรง) โมเดลแบบนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องการจัดการข้อมูลทีทำได้ยากในโมเดลแบบ Pure P2P โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จะทำหน้าที่คอยตรวจสอบสถานะของทุกๆเพียร์ และควบคุมการไหลของข้อมูลในเครือข่ายแต่เพราะยังต้องใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์กลางอยู่ดังนั้นถ้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ กลางเสียไปก็จะเสียการควบคุมข้อมูลไปแต่ละเพียร์ ก็จะยังคงสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อยู่ เนื่องจากมีการควบคุมข้อมูลที่ดีดังนั้นโมเดล นี้จึงมีความสามารถในการขยายขนาดเครือข่ายได้ดีกว่าโมเดล Pure P2P แต่ก็ยังมีขีดจำกัดของการขยายอยู่ที่จำนวนเครื่องลูกของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่จะรับได้ โมเดลแบบนี้มี ประสิทธิ ภาพที่จะนำไปใช้ กับแอปพลิเคชั่นต่างๆ แต่ไม่สามารถนำไปใช้กับแอปพลิเคชั่นที่มีขนาดของปัญหาใหญ่ๆได้
Super-Peerโมเดลแบบ Super-Peer เป็นโมเดลใหม่ที่เพิ่งจะ เกิดขึ้นไม่นานมานี้โดยเป็นการเอาระบบแบบศูนย์กลางไปรวม อยู่ในระบบแบบกระจาย โมเดลแบบ Super-Peer จะช่วยลดปริมาณในการจัดการของเซิร์ฟเวอร์ อีกทั้งช่วยเพิ่มความสามารถในเรื่องของการขยายขนาดและความคงทนของเครือข่าย และลดปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในโมเดลแบบ Pure P2P และ Hybrid P2P Super Peer คือเพียร ที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นเซิร์ฟเวอร์ กลางให้กับกลุ่มของไคลเอนต์แต่ละกลุ่มไคลเอนต์จะส่งคำร้องขอและรับผลลัพธ์ของคำร้องขอนั้นจาก Super Peer ในขณะที่ Super Peer แต่ละเพียร์ ก็จะเชื่อมต่อถึงกันด้วยเครือข่ายแบบ Pure P2P โดย Super Peer จะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม(controller),ปรับแต่ง (configuration), ดูแล (administration) และรักษาความปลอดภัย (security) ให้กับไคลเอนต์ ที่อยู่ในกลุ่มดังนั้นในแต่ละ Super Peer จะต้องมีโพรโตคอลในการติดต่อสื่อสารอยู่ 2 โพรโตคอล คือโพรโตคอลในการติดต่อสื่อสารระหว่าง Super Peer กับไคลเอนต์ และโพรโตคอลในการติดต่อสื่อสารระหว่าง Super Peer กับ Super Peer อื่น โมเดลแบบ Super Peer มีจุดเด่นคือช่วยลดเวลาและแบนด์วิธที่ใช้ในการค้นหา, แต่ละหน่วยจะมีความเป็นอิสระสูง, สามารถควบคุมและจัดการได้ง่าย, สามารถทำ load balancing ได้เป็นต้น แต่โมเดล Super Peer นี้ถ้า Super Peer เสียก็จะทำให้ไคลเอนต์ที่อยู่ในกลุ่มนั้นไม่สามารถทำงานได้ แต่ปัญหานี้สามารถลดได้โดยการที่ให้มีSuper Peer มากกว่าหนึ่งเพียร์ ในแต่ละกลุ่ม
WAN
MAN
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
LAN
1. แบบ peer to peer เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเน็ตเวิร์ก เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะทีทัดเทียมกัน การเชื่อต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องทีทำการเชื่อมต่อกันประมาณไม่เกิน 10 เครื่อง เน็ตเวิร์กประเภทนี้สามารถจัดตั้งได้ง่ายๆ ด้วยซอฟแวร์ธรรมดาๆ เช่น Windows 95 โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบจะสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องลูกข่าย (client) และเครื่องผู้ให้บริการ (server) โดยขึ้นอยู่กับว่าขณะใดขณะหนึ่งเครื่องไหนเป็นผู้ร้องขอทรัพยากรหรือว่าเป็น ผู้แบ่งปันทรัพยากร
2. แบบ client-server เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งเป็นอย่างน้อย ซึ่งเครื่องที่เชื่อมต่อด้วยนี้จะมีขนาดใหญ่ มีโปรเซสเซอร์ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งเครื่องในระดับ Pentium หรือ RISC(Reduced Instruction Set Computing เช่น DEC Alpha AXP) แล้วก็ใช้ระบบปฏิบัติการที่เป็นเน็ตเวิร์ก (NOS หรือ Network Operating System)
PAN
